โครงการส่งเสริมสุขภาพฯ

ลำดับเจ้าภาพดำเนินโครงการส่งเสริมสุขภาพและศักยภาพการปฏิบัติงาน

ของบุคลากรฝ่ายคฤหัสถ์

มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

การดำเนินโครงการส่งเสริมสุขภาพและศักยภาพการปฏิบัติงานของบุคลากรฝ่ายคฤหัสถ์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เกิดขึ้นด้วยวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมสุขภาพและความสามัคคีของบุคลากร เป็นการออกกำลังกายหรือเล่นกีฬาเพื่อสร้างภูมิต้านทานโรค อีกทั้งก่อให้เกิดทักษะทางการกีฬาให้มากขึ้น และเพื่อเป็นการสันทนาการของบุคลากรฝ่ายคฤหัสถ์จากทั่วประเทศที่จะได้มีโอกาสพบปะแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกันให้มากขึ้นโดยอาศัยการกีฬาเป็นสื่อสัมพันธ์ นอกจากนั้นกีฬาหรือการออกกำลังกายก็เป็นคุณูปการต่อสุขภาพกายและสุขภาพใจ สุขภาพจิตที่แจ่มใส อยู่ในร่างกายที่แข็งแรง ในทางสังคมก็สามารถทำให้มนุษย์เรามีปฏิสัมพันธ์กันหลาย ๆ ด้านอันจะก่อให้เกิดระเบียบวินัย รู้แพ้ รู้ชนะ รู้อภัย ได้ความรักความสมานสามัคคี การดำเนินโครงการดังกล่าวมีลำดับดังต่อไปนี้

ครั้งที่ ๑ (พ.ศ. ๒๕๔๘) จัดขึ้นครั้งแรก โดยมี มจร ส่วนกลาง เป็นเจ้าภาพ แบ่งผู้เข้าร่วมออกเป็น ๔ สี ทั้งส่วนกลางและวิทยาเขต คละเป็นสีต่างๆ แล้วจัดแข่งขันกันแล้วเสร็จภายใน ๑ วัน ณ ศูนย์กีฬาพณิชยการราชดำเนิน ถนนทวีวัฒนา – กาญจนาภิเษก กรุงเทพมหานคร ในวันที่ ๑๘ กันยายน พ.ศ. ๒๕๔๘

ครั้งที่ ๒ (พ.ศ. ๒๕๔๙) โซนภาคอีสานใต้ (สีส้ม) โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตสุรินทร์ เป็นเจ้าภาพ ได้มีการแบ่งโซนสีตามสภาพภูมิประเทศของส่วนงาน ขึ้นเป็นครั้งแรก ประกอบด้วย ๑. โซนภาคกลางและภาคใต้ เป็นสีแดง ๒. โซนภาคเหนือ เป็นสีน้ำเงิน ๓. โซนภาคอีสานเหนือ เป็นสีเหลือง และ ๔. โซนภาคอีสานใต้ เป็นสีส้ม จัดการแข่งขัน ณ สนามกีฬามหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ ตำบลนอกเมือง อำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์ ในวันที่ ๑๑ พฤศจิกายน ๒๕๔๙

ครั้งที่ ๓ (พ.ศ. ๒๕๕๐) โซนภาคเหนือ (สีน้ำเงิน) โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตเชียงใหม่ เป็นเจ้าภาพหลัก มีการปรับเปลี่ยนแปลงชนิดกีฬาและประเภทกีฬาให้ครอบคลุมยิ่งขึ้น และเปลี่ยนรางวัลจากถ้วยมาเป็นเหรียญรางวัลให้แต่ละชนิดและประเภทกีฬา ส่วนกีฬาพื้นบ้านไม่นับรวมเหรียญรางวัล จัดการแข่งขัน ณ สนามกีฬาสมโภชเชียงใหม่ ๗๐๐ ปี ระหว่างวันที่ ๒๗ – ๒๘ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๐ ใช้ชื่อการแข่งขันว่า “เชียงใหม่เกมส์”

ครั้งที่ ๔ (พ.ศ. ๒๕๕๑) โซนอีสานเหนือ (สีเขียว) โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตขอนแก่น เป็นเจ้าภาพหลัก จัดการแข่งขัน ณ สนามกีฬาโรงเรียนกีฬาจังหวัดขอนแก่น ระหว่างวันที่ ๒๐ – ๒๑ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๑

ครั้งที่ ๕ (พ.ศ. ๒๕๕๒) มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย โซนภาคกลางและใต้ (สีแดง) เป็นเจ้าภาพ จัดการแข่งขัน ณ สนามกีฬาจังหวัดพระนครศรีอยุธยา หรือกรุงศรีสเตเดียม ระหว่างวันที่  ๖ – ๗ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๒ ใช้ชื่อการแข่งขันว่า “อโศกเกมส์”

ครั้งที่ ๖ (พ.ศ. ๒๕๕๓) โซนอีสานใต้ (สีเหลือง) โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตนครราชสีมา เป็นเจ้าภาพหลัก จัดการแข่งขัน ณ สนามกีฬาเฉลิมพระเกียรติ ๘๐ พรรษา ๕ ธันวาคม ๒๕๕๐ ระหว่างวันที่ ๒๓ – ๒๕ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๓ ใช้ชื่อการแข่งขันว่า “มหาจุฬาเกมส์”

ครั้งที่ ๗ (พ.ศ. ๒๕๕๕) โซนภาคเหนือ (สีน้ำเงิน) โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาลัยสงฆ์พุทธชินราช เป็นเจ้าภาพหลัก จัดการแข่งขัน ณ สนามกีฬาพระองค์ดำ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม (ส่วนทะเลแก้ว) ตำบลพลายชุมพล อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก ระหว่างวันที่ ๓๐ พฤศจิกายน – ๒ ธันวาคม ๒๕๕๕ ใช้ชื่อการแข่งขันว่า “พิษณุโลกเกมส์”

ครั้งที่ ๘ (พ.ศ.๒๕๕๖) โซนอีสานเหนือ (สีเขียว) มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตหนองคาย เป็นเจ้าภาพ จัดการแข่งขัน ณ สนามกีฬากลางจังหวัดหนองคาย ระหว่างวันที่ ๒๐ – ๒๓ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๖ ใช้ชื่อการแข่งขันว่า “หนองคายเกมส์”

ครั้งที่ ๙ (พ.ศ. ๒๕๕๗) มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย โซนกลางและใต้ (สีแดง) เป็นเจ้าภาพ จัดการแข่งขัน ณ สนามกีฬาโรงเรียนวัดไร่ขิงวิทยา จังหวัดนครปฐม ระหว่างวันที่ ๗ – ๙ พฤศจิกายน ๒๕๕๗ ใช้ชื่อการแข่งขันว่า “อโศกเกมส์”

ครั้งที่ ๑๐ (พ.ศ. ๒๕๕๘) โซนอีสานใต้ (สีเหลือง) โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย  วิทยาเขตอุบลราชธานี เป็นเจ้าภาพหลัก ได้แบ่งออกเป็น ๖ โซนสี เป็นปีแรก ประกอบด้วย ๑. มจร ส่วนกลาง เป็นสีแดง ๒. โซนภาคเหนือตอนบน เป็นสีน้ำเงิน ๓. โซนภาคเหนือตอนล่าง เป็นสีม่วง ๔. โซนภาคอีสานเหนือ เป็นสีเขียว ๕. โซนภาคอีสานใต้ เป็นสีเหลือง และ ๖. โซนภาคกลางและภาคใต้ เป็นสีส้ม จัดการแข่งขัน ณ สนามกีฬาโรงเรียนกีฬาจังหวัดอุบลราชธานี ระหว่างวันที่ ๒๗ – ๒๙ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๘ ใช้ชื่อการแข่งขันว่า “อุบลราชธานีเกมส์”

ครั้งที่ ๑๑ (พ.ศ. ๒๕๖๐) โซนภาคเหนือตอนบน (สีน้ำเงิน) โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตพะเยา เป็นเจ้าภาพหลัก จัดการแข่งขันที่สนามกีฬามหาวิทยาลัยพะเยา
อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา ระหว่างวันที่ ๑๐ – ๑๒ พฤศจิกายน ๒๕๖๐ ใช้ชื่อการแข่งขันว่า “มจร สัมพันธ์ พะเยาเกมส์”

ครั้งที่ ๑๒ (พ.ศ.๒๕๖๑) โซนอีสานเหนือ (สีเขียว) เป็นเจ้าภาพ โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตขอนแก่น เป็นเจ้าภาพหลัก มจร ส่วนกลาง เป็นจากสีแดงเป็นสีฟ้า จัดการแข่งขันที่สนามกีฬากลางจังหวัดขอนแก่น อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น ระหว่างวันที่ ๒๓ – ๒๕ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๖๑ ใช้ชื่อการแข่งขันว่า “มหาจุฬาไดโนเกมส์”

ครั้งที่ ๑๓ (พ.ศ.๒๕๖๒) โซนภาคกลางและภาคใต้ (สีส้ม) เป็นเจ้าภาพ โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตบาฬีศึกษาพุทธโฆส นครปฐม เป็นเจ้าภาพหลัก จัดการแข่งขันที่สนามกีฬามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล รัตนโกสินทร์ ศาลายา ระหว่างวันที่ ๑๕ – ๑๗ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๖๒ ใช้ชื่อการแข่งขันว่า “มหาจุฬาศาลายาเกมส์”

ครั้งที่ ๑๔ (พ.ศ. ๒๕๖๖) โซนภาคเหนือตอนล่าง (สีม่วง) เป็นเจ้าภาพ โดยมีมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย  วิทยาเขตนครสวรรค์ เป็นเจ้าภาพหลัก ครั้งนี้ วิทยาเขตแพร่ ได้ขอย้ายไปสังกัดโซนภาคเหนือตอนบน พิธีเปิดใช้สนามกีฬามหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตนครสวรรค์ ส่วนการแข่งขันรวมถึงพิธีปิด ณ สนามกีฬาโรงเรียนจังหวัดนครสวรรค์ ระหว่างวันที่ ๑๗ – ๑๙ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๖๖ ใช้ชื่อการแข่งขันว่า “มหาจุฬานครสวรรค์เกมส์”

ครั้งที่ ๑๕ (พ.ศ. ๒๕๖๗) โซนกลาง (สีฟ้า) โดยมีมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ส่วนกลาง เป็นเจ้าภาพ กำหนดจัดการแข่งขัน ณ สนามกีฬากลางจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ระหว่างวันที่ ๒๒ – ๒๔ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๖๗ ใช้ชื่อการแข่งขันว่า “มหาจุฬาอโยธยาเกมส์”

ครั้งที่ ๑๖ (๒๕๖๗) “มหาจุฬาลำพูนเกมส์”

ครั้งที่ ๑๗ (๒๕๖๘) “มหาจุฬาขอนแก่นเกมส์”

ครั้งที่ ๑๘ (๒๕๖๙) “มหาจุฬาบุรีรัมย์เกมส์”

ครั้งที่ ๑๙ (๒๕๗๐) “มหาจุฬานครสวรรค์เกมส์”

ครั้งที่ ๒๐ (๒๕๗๑) “มหาจุฬานครศรีธรรมราชเกมส์”

การงดการแข่งขัน

การดำเนินโครงการได้มีการเว้นว่างในบางปี ด้วยเหตุผลของสถานการณ์บ้านเมือง ดังนี้

  • ปี พ.ศ. ๒๕๕๔ งดการแข่งขัน เนื่องจากเกิดอุทกภัยในประเทศไทยครั้งใหญ่
  • ปี พ.ศ. ๒๕๕๙ งดการแข่งขัน เนื่องจากในหลวง ร.๙ สิ้นพระชนม์
  • ปี พ.ศ. ๒๕๖๓-๒๕๖๕ งดการแข่งขัน เนื่องจากสถานการณ์โรคระบาดโควิด ๑๙

สรุปการเป็นเจ้าภาพ

๑. โซนกลาง                                            เป็นเจ้าภาพจำนวน      ๓ ครั้ง
๒. โซนเหนือตอนบน (เชียงใหม่, พะเยา)              เป็นเจ้าภาพจำนวน      ๒ ครั้ง
๓. โซนเหนือตอนล่าง (พุทธชินราช, นครสวรรค์)     เป็นเจ้าภาพจำนวน      ๒ ครั้ง
๔. โซนอีสานเหนือ (ขอนแก่น ๒, หนองคาย)         เป็นเจ้าภาพจำนวน      ๓ ครั้ง
๕. โซนอีสานใต้ (สุรินทร์, อุบลฯ, นครราชสีมา)      เป็นเจ้าภาพจำนวน      ๓ ครั้ง
๖. โซนภาคกลางและภาคใต้ (บาฬีศึกษาพุทธโฆส)  เป็นเจ้าภาพจำนวน      ๑ ครั้ง

Close